ข้อแนะนำในการเลือกกล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่

  • กล้องกำลังขยายตํ่า คือ กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ เหมาะกับงานวิเคราะห์ทั่วไป
    ขนาดมาโคร (สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า)
  • กล้องกำลังขยายสูง คือ กล้องจุลทรรศน์ เหมาะกับงานทางชีววิทยา ใช้สำหรับ
    การศึกษาระดับเซลล์ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ในการเลือกใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้และความเหมาะสม โดยมีองค์ประกอบต่างๆ
ที่ควรพิจารณาดังนี้

เลนส์ตา (Eyepieces)

เลนส์ตาแบบเห็นภาพกว้าง (Widef ield) เป็นที่นิยมและใช้งานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากความสะดวกต่อการส่องดูด้วยตา เหมาะกับการใช้งานของทุกคน

สำหรับการเลือกกล้องจุลทรรศน์ระหว่างแบบกระบอกตาเดียวและสองกระบอกตา มีหลักในการตัดสินใจคือ ถ้าต้องใช้งานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรเลือกแบบสองกระบอกตาซึ่งจะช่วยให้ไม่เกิดอาการสายตาล้า ส่วนถ้าใช้สำหรับงานอดิเรกหรือให้เด็กนักเรียนดูเป็นหลัก กล้องจุลทรรศน์แบบกระบอกตาเดียวจะง่ายต่อการส่องดูมากกว่า นอกจากกล้องจุลทรรศน์จะมีแบบตาเดียวและสองตาแล้วยังมีกล้องจุลทรรศน์สามตาที่มีตาที่สามเพื่อใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพหรือชุดถ่ายทอดสัญญาภาพเพื่อแสดงภาพบนจอทีวีหรือคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย

 

กล้องจุลทรรศน์ตาเดียว

กล้องจุลทรรศน์สองตา

กล้องจุลทรรศน์สามตา

 

เลนส์วัตถุ (Objectives)

กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ

เลนส์วัตถุจะมี 2 แบบ

  • แบบกำลังขยายคงที่ เช่น 1x/3x, 2x/4x หมายความว่าสามารถเลือกกำลังขยายของเลนส์วัตถุได้เพียง 2 ค่าเท่านั้นกำลังขยายคงที่
  • เเบบปรับซูมค่ากำลังขยายได้ต่อเนื่อง (Zoom) เช่น 1x – 4x หมายความว่าสามารถเลือกปรับค่ากำลังขยายได้ในช่วงระหว่าง 1 เท่า ถึง 4 เท่า โดยหมุนปรับที่ปุ่มปรับกำลังขยายได้

แบบปรับซูม

กล้องจุลทรรศน์

เลนส์วัตถุที่ติดตั้งมากับกล้องจุลทรรศน์ควรจะได้รับมาตรฐาน DIN (Deutsche Institute Norms) เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่มีการใช้งานและได้รับการยอมรับมากที่สุด นอกจากนี้ควรเลือกเลนส์วัตถุประเภทที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้

  • เลนส์วัตถุชนิด Achromatic เป็นเลนส์ที่แก้ค่าความคลาดเคลื่อนสี (Chromatic Aberration) ทำให้ได้ภาพที่มีความชัดเจน มีความราบเรียบของภาพอยู่ในระดับดี เหมาะสำหรับการใช้งานทางด้านการศึกษารวมถึงผู้สนใจทั่วไป
  • เลนส์วัตถุชนิด Achromatic Super Contrast (ASC) เป็นเลนส์ชนิด Achromatic ที่ให้การตัดกันของภาพ (Contrast) สูงสุด ทำให้ภาพมีความคมชัดมากยิ่งขึ้น
  • เลนส์วัตถุชนิด Semi Plan เป็นเลนส์ที่แก้ค่าความคลาดเคลื่อนสีและมีความราบเรียบของภาพอยู่ในระดับสูง เหมาะกับการใช้งานทางด้านการศึกษา, การวิจัยและปฏิบัติการรวมถึงทางด้านอุตสาหกรรม
  • เลนส์วัตถุชนิด Plan เป็นเลนส์ที่ปราศจากความคลาดเคลื่อนใดๆ (100% Free of Aberration) ให้ภาพที่คมชัดและมีความราบเรียบ (Flat Field) สูงสุด เหมาะสำหรับการใช้งานทางด้านการศึกษาระดับสูง, การวิจัยและปฏิบัติการ, อุตสาหกรรมรวมถึงในวงการแพทย์
  • เลนส์วัตถุชนิด Plan Inf ifinity เป็นเลนส์ที่มีระบบแสงของกล้องเป็นระยะอนันต์

เลนส์วัตถุแบบต่างๆ

 

แป้นใส่เลนส์วัตถุ (Nosepiece)

มี 2 แบบ คือ

แบบหันเข้า (Reversed)

ประหยัดพื้นที่ในการใช้งานและนำสไลด์เข้าออกได้ง่ายกว่า

แบบหันเข้า (Reversed)

แบบหันออก (Forward facing)

สามารถถอดใส่เลนส์วัตถุได้สะดวกกว่า

แบบหันออก (Forward facing)

 

แท่นวางสไลด์ (Stage)

แบบคลิปหนีบ

ประหยัดและง่ายต่อการใช้งาน ในบางรุ่นจะเป็นแบบ One Touch ซึ่งทำให้สะดวกในการนำสไลด์เข้าออกยิ่งขึ้น

คลิปหนีบ

คลิปหนีบ One Touch

แบบ Mechanical Stage

สามารถปรับเลื่อนแท่นได้ทั้งทางด้านซ้าย/ขวา และหน้า/หลัง โดยใช้ปุ่มปรับ ทำให้สะดวกต่อการใช้งานโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กำลังขยาย 400 เท่าขึ้นไป โดยสามารถปรับเลื่อนสไลด์ได้ทีละนิด ซึ่งถ้าใช้มือเลื่อนเองจะทำได้ยาก

Mechanical Stage

 

ระบบปรับโฟกัส (Focusing)

ระบบปรับโฟกัสแบบหยาบสามารถใช้งานได้ดีที่กำลังขยายตํ่ากว่า 400 เท่า สำหรับที่กำลังขยายสูงกว่า 400 เท่าควรใช้แบบระบบปรับหยาบและระบบปรับละเอียดร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้ปรับโฟกัสที่กำลังขยายสูงๆ ได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปมี 2 แบบคือ แบบแกนแยกและแบบแกนร่วม (Coaxial) สามารถเลือกใช้ได้ตามความถนัดของผู้ใช้งาน

แกนแยก

แกนร่วม

 

เลนส์รวมแสง (Condenser)

ทำหน้าที่รวมแสงจากหลอดไฟให้เข้าสู่เลนส์วัตถุ เลนส์รวมแสงต้องมีค่า NA มากกว่าหรือเท่ากับ NA ของเลนส์วัตถุกำลังขยายสูงสุดที่ต้องใช้ เช่น เลนส์วัตถุ 100x มีค่า NA 1.25 ควรเลือกเลนส์รวมแสงที่มีค่า NA 1.25 หรือมากกว่า

เลนส์รวมแสง

ไดอะแฟรม (Diaphragm)

ใช้สำหรับควบคุมปริมาณของแสงที่จะผ่านเข้าสู่เลนส์รวมแสง มี 2 ชนิด คือ

ชนิด Iris diaphragm

เปรียบเสมือนเป็นรูม่านตาของมนุษย์ ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณแสงที่จะผ่านเข้าสู่เลนส์รวมแสงได้แบบไม่มีข้อจำกัด (Infifinite) ใช้งานสะดวก สามารถใช้ควบคุมปริมาณของแสงเพื่อให้ได้ภาพตามที่ต้องการ

Iris Diaphragm

ชนิดดิสก์ (Disk)

ประหยัดและง่ายต่อการใช้งาน เพียงเลื่อนช่องที่มีขนาดต่างๆเพื่อเลือกให้แสงผ่านไปในปริมาณที่ต้องการแต่ในบางครั้งจะหาจุดที่แสงเหมาะสมที่สุดไม่ได้ เนื่องจากขนาดของช่องทุกช่องไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

Disk Diaphragm

 

ระบบแสงสว่าง (Illumination)

หลอดไฟที่ใช้งานในกล้องจุลทรรศน์ส่วนใหญ่มี 3 แบบ คือ

ทังสเตน (Tungsten)

ประหยัด ให้แสงสว่างสีเหลือง เมื่อใช้เป็นระยะเวลาหนึ่งจะมีความร้อนสูงซึ่งมีโอกาสทำให้สไลด์เกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้ยังมีขนาดและแบบที่หลากหลายซึ่งอาจทำให้หาหลอดเปลี่ยนลำบาก

หลอดทังสเตน

ฮาโลเจน (Halogen)

มีความสว่างและความเข้มแสงสูง มีขนาดเล็กและสามารถหาเปลี่ยนได้ง่าย ให้แสงสว่างออกสีเหลือง ซึ่งควรใช้งานร่วมกับที่กรองแสงสีนํ้าเงินเพื่อให้แสงเป็นสีขาว เพื่อป้องกันสายตาล้า

หลอดฮาโลเจน

หลอด LED

มีขนาดเล็ก ให้แสงสว่างสีขาวนวลสบายตา มีความร้อนตํ่ามาก มีอายุการใช้งานสูงมาก ประหยัดพลังงาน

หลอด LED

 

หลักการในการเลือกกล้องจุลทรรศน์เพื่อนำไปใช้งานก็มีตามนี้นะครับ นอกจากคุณสมบัติต่างๆที่ควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน ก็จะเป็นการเลือกให้พอดีกับงบประมาณที่มี ถ้าต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมในการเลือกกล้องจุลทรรศน์หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ตามช่องทางต่างๆใน Link นี้เลยนะครับ

IES Admin